วันศุกร์ที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทิน
วิชา  การจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

อาจารย์ผู้สอน  อาจารย์ตฤณ   แจ่มถิ่น

วัน/  เดือน/ ปี  22  มกราคม    2557

ครั้งที่ 8  เวลาเรียน  08: 30  -  12:20

เวลาเข้าสอน 08:30   เวลาเข้าเรียน  08: 30  เวลาเลิกเรียน   12: 20


           อาทิตย์นี้ทำงานกลุ่มสองชิ้นคือตัดแปะรูปทรงต่างๆตามจินตนาการและการสอนเด็กจากแผนภูมิแบบต่างๆกลุ่มของดิฉันเป็นแผนภูมิวงกลมอาทิตย์นี้เป็นการทำงานกลุ่มที่เยอะที่สุดเท่าที่เคยเรียนกับอาจารย์มาแต่ก็เป็นงานกลุ่มที่สนุกทำไปฟังเพลงไปเพลินเพลินและได้ความรู้


ผลงานชิ้นแรกของอาทิตย์นี้คือ  กรตัดแปะ

ขั้นตอนการทำ











ผลงาน





ประโยชน์ที่ได้รับ
1. ได้การนับ

2. รู้จักสีที่หลากหลาย

3. ได้พีชคณิต

4. ได้รูปทรง

การนำมาประยุกต์ใช้ในการสอนเด็กปฐมวัย


1.ครูตัดกระดาษรูปทรงต่างๆไว้ให้เด็ก

2.ให้เด็กติดหรือทำเป็นรูปต่างๆตามจินตนาการตัวเอง

3.ให้เด็กออกมานำเสนอผลงานของตนเอง


ผลงานชิ้นที่สองของอาทิตย์นี้คือการสอนจากแผนภูมิแบบต่างๆ









ขั้นการดำเนินการในการสอน


         คือ ครูผู้สอนต้องทำแผนภูมิเปล่าไว้ก่อนแล้งนำมาติดหน้าห้อง





          เช่นแผนภูมิวงกลม  คือมีการวาดวงกลมสองวง  ฝั่งหนึงเป็นวัวอีกฝั่งหนึ่งเป็นแมวในแผนภูมินี้เป็นการสอนการเรียบเทียบความต่างระหว่างวัวกะแมว


       ขั้นตอนในการสอนคือครูผู้สอนถามถึงลักษณะของวัวแล้วเขียนลงฝังที่มีรูปวัว   และถาเกี่ยวลักษณะของแมวแล้วเขียนลงฝังที่มีรูปแมว  และถามเด็กว่าวัวกับแมวต่างกันอย่างไรแล้วเขียนลงตรงช่องกลาง




ผลงานทั้งหมดของนักศึกษาทั้งสามกลุ่ม




การนำไปประยุกต์ใช้ในการสอนเด็กปฐมวัย


1.ในการสอนครูต้องหันหน้าเข้าหาเด็กเสมอ

2.ควรใช้ของจริงหรือภาพให้เด็กเห็น

3.ในการสอนเด็กควรจะมีพื้นฐานในเรื่องนั้นก่อนนำมาสอนเป้นแบบแผนภูมิ











บันทึกอนุทิน
วิชา  การจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

อาจารย์ผู้สอน  อาจารย์ตฤณ   แจ่มถิ่น

วัน/  เดือน/ ปี  15  มกราคม    2557

ครั้งที่ 7  เวลาเรียน  08: 30  -  12:20

เวลาเข้าสอน 08:30   เวลาเข้าเรียน  08: 30  เวลาเลิกเรียน   12: 20



         อาทิตย์นี้มีการแต่งนิทานเกี่ยวกับคณิตศาสตร์ร่วมกันทั้งห้องเป็นนิทานที่สนุกพร้องสอดแทรกความรู้ทางคณิตศาสตร์มีเนื้อเรื่องดังต่อไปนี้

นิทาน ลูกหมูเก็บฟืน


         
 กาลครั้งหนึ่งมีบ้านอยู่สามหลัง หลังที่หนึ่งมีรูปร่างเป็นวงกลม หลังที่สองมีรูปร่างเป็นสามเหลี่ยม และหลังที่สามมีรูปร่างเป็นสี่เหลี่ยม   ในบ้านแต่ละหลังมีลูกหมูอาศัยอยู่ หลังละ 2 ตัว หมูแต่ละตัวจะออกไปทำงานทุกเช้า  หมูที่อยู่บ้านหลังที่เป็นวงกลมต้องเดินทางไปที่ทำงานซึ่งไกลมาก   หมูที่อยู่บ้านสามเหลี่ยมกับสี่เหลี่ยมเดินทางไม่ไกลจากที่ทำงาน  หมูที่อยู่บ้านหลังวงกลมเดินทางไปเก็บฟืนในป่า  ซึ่งในป่ามีฟื้นเยอะแยะเลย เจ้าหมู 2 ตัวนี้ก็เลยเรียกเพื่อนที่อยู่บ้านหลังสี่เหลี่ยมกับสามเหลี่ยมเพื่อมาช่วยเก็บฟืนในป่า   หมูทั้ง 6 ตัวช่วยกันนับฟืนที่เก็บได้มีทั้งหมด 10 ท่อน  แล้วหมูก็นำฟืนสามท่อนไปจุดไฟเพื่อทำกับข้าว หมูก็เลยเหลือฟืนทั้งหมด 7 ท่อน  และหมูก็นำฟืน 7 ท่อนที่เหลือเก็บไว้ใช้ในวันต่อไป
กลุ่มที่ 7 หมูทั้ง 6 ตัวช่วยกันนับฟืนที่เก็บได้มีทั้งหมด 10 ท่อน 

              ขั้นตอนการทำภาพประกอบนิทาน           ลูกหมูเก็บฟืน                












ภาพประกอบนิทานที่แสนสนุกจากนักศึกษา




ประโยชน์ที่ได้รับ


1.เด็กได้มีการฝึกนับเลข
2.เด็กได้รู้ถึงการทำงานร่วมกันเป็นทีม  การแบ่งงาน
3.เด็กได้ฝึกการคำนวนจากนิทาน
4.รูปทรง    สามเหลี่ยม     สี่เหลี่ยม    วงกลม

การนำมาปนะยุกต์ใช้ในการสอนเด็กปฐมวัย
1..ให้เด็กเป็นคนคิดนิทานเองโดยครูค่อยเชื่อมให้เข้ากับเนื้อหาคณิตศาสตร์
2.ครูตัดกระดาษสีที่มีรูปทรงต่างๆไว้ให้
3.บอกวิธีการติดกาว
4.ครูจัดให้เด็กแบ่งกลุ่มตามจำนวนของนิทานที่ครูแบ่งเรียบร้อยแล้ว
5.ใหเเด็กแต่ละกลุ่มส่งตัวแทนมาเล่านิทานในอนที่ตนเองได้ต่อจากเพื่อน






วันเสาร์ที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทิน
วิชา  การจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

อาจารย์ผู้สอน  อาจารย์ตฤณ   แจ่มถิ่น

วัน/  เดือน/ ปี  8  มกราคม    2557

ครั้งที่ 6  เวลาเรียน  08: 30  -  12:20

เวลาเข้าสอน 08:30   เวลาเข้าเรียน  08: 30  เวลาเลิกเรียน   12: 20





กรอบมาตรฐานการเรียนรู้คณิตศาสตร์


-                         ให้เด็กได้เตรียมวามพร้อมด้านต่างๆ ทางคณิตศาสตร์ที่เป็นพื้นฐานการเรียนรู้          

                                                                                สาระและมาตรฐานการเรียนรู้

-สาระที่ 1 จำนวนและการดำเดินการ
- สารที่ 2 การวัด
- สาระที่ 3 เรขาคณิต
- สาระที่ 4 พีชคณิต
- สาระที่ 5 การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น
- สาระที่ 6 ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์

              คุณภาพเด็กเมื่อจบการศึกษาปฐมวัย





1 ความคิดเชิงคณิตศาสตร์

-        -   จำนวนนับ 1 – 20
-         -  เข้าใจหลักการนับ
-        -   รู้จักตังเลขฮินดูอาราบิกและตัวเลขไทย
-        -   รู้คำของจำนวน
-        -   เปรียบเทียบ เรียงลำดับ
-         -  การรวมและการแยกกลุ่ม

   2 มีความรู้ความเข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับความยาว  น้ำหนัก ปริมาร เงินและเวลา

-       -    เปรียบเทียบ เรียงลับ และวัดความยาว นำหนัก ปริมาตร
-       -   รู้จักเหรียญและธนบัตร
-         -  เข้าใจเกี่ยวกับเวลาและคำที่ใช้บอกช่วงเวลา

3 มีความรู้ความเข้าใจพื้นฐานทางเรขาคณิต

-       -   ตำแหน่ง  ทิศทาง  ระยะทาง
-       -    รูปเรขาคณิตสามมิติและรูปเรขาคณิตสองมิติ
-        -  มีความรู้ความเข้าใจแบบรูปของรูปที่มีรูปร่าง ขนาด สีที่สัมพันธ์อย่างใดอย่างหนึ่ง
-        -  มีส่วนร่วมในการให้ข้อมูลและนำเสนอข้อมูลในรูปแบบของแผนภูมิอย่างง่าย
-        -  มีทักษะและกระบนการทางคณิตศาสตร์ที่จำเป็น



สาระและมาตรฐานการเรียนรู้


สาระที่ 1 จำนวนและการดำเนินการ

 มาตรฐาน ค.. 1.1  เข้าใจถึงความหลากหลายขอการแสดงจำนวนและการใช้จำนวนในชีวิตจริง
จำนวน
-         ----      การใช้จำนวนบอกปริมาณที่ได้จากการนับ
-         ----      การอ่านตัวเลขฮินดู อารบิก และตัวเลขไทย
-         ----       การเปรียบเทียบจำนวน
-          ---       การเรียงลำดับจำนวน
---     การรวมและการแยกกลุ่ม
-          ---       ความหมายของการรวม
-          ---       การรวมสิ่งต่างๆรวมกันทีมีผลรวมไม่เกิน 10
-         ---        ความหมายของการแยก
-         ---         การแยกกลุ่มย่อยออกจากกลุ่มใหญ่ที่มีจำนวนไม่เกิน 10

สาระที่ 2 การวัด

-          มาตรฐาน ค..2.1 เข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับการวัด ความยาวน้ำหนักปริมาณ เงินและเวลา

---   ความยาว / น้ำหนักและปริมาตร
-         ---       การเปรียบเทียบ / การวัด /การเรียงลำดับความยาว
-         ---     การเปรียบเทียบ/การชั่ง / การเรียงลำดับน้ำหนัก
-          ---    การเปรียบเทียบ / การตวง

      เงิน

-       ------   ชนิดและค่าของเงิน  เหรียญและธนบัตร

    เวลา

-          ---    ช่วงเวลาแต่ละวัน
-        ---        ชื่อวันในสัปดาห์และคำที่ใช้บอกเกี่ยวกับวัน

สาระที่ 3 เรขาคณิต

-          มาตรฐาน ค.. 3.1 รู้จักใช้คำที่ใช้ในการบอกตำแหน่ง
-          มาตรฐาน ค. .3.2 รู้จักจำนวนรูปเรขาคณิตและเข้าใจการเปลี่ยนแปลงรูปเรขาคณิตที่เกิดจากการจัดกระทำ

---    ตำแหน่ง ทิศทาง และระยะทาง
-          ---       การบอกตำแหน่ง ทิศทาง และระยะทางของสิ่งต่างๆ
---     รูปเรขาคณิตสามมิติและรูปเรขาคณิตสองมิติ
-         ---          ทรงกลม ทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก กรวย ทรงกระบอก
-         ---           รูปวงกลม รูปสามเหลี่ยม รูปสี่เหลี่ยม
-         ----           การเปลี่ยนแปลง รูปเรขาคณิต สองมิติ
-        ---              การสร้างสรรค์งานศิลปะจากรูปเรขาคณิตสามมิติและสองมิติการเปลี่ยนรูปแบบรูป  รูปเรขาคณิต

สาระที่ 4 พีชคณิต

-          รูปแบบของรูปที่มี รูปร่าง ขนาด หรือสีที่สัมพันธ์กันอย่างใดอย่างหึ่ง

สาระที่ 5 การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น

-          มาตรฐาน ค..5.1 รวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวกับตนเองและสิ่งแวดล้อมการเก็บรวบรวม

สาระที่ 6 ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์

-          การแก้ปัญหา การใช้เหตุผล การสื่อสาร การสื่อความหมายทางคณิตศาสตร์และนำเสนอ การเชื่อมโยงความรู้ต่างๆทางคณิตศาสตร์อื่นๆ และความคิดริเริ่มสร้างสรรค์

กิจกรรม : งานศิลปะจากรูปเรขาคณิต

วิธีการดำเนินการ

-         1.  อาจารย์ผู้สอนได้วางรูปเรขาคณิตไว้หน้าห้อง มีรูป  วงกลม    สามเหลี่ยม  และสี่เหลี่ยม  ให้นักศึกษาไปเลือกมาคนละหนึ่งรูป
-          2. นำรูปเรขาคณิตที่เลือกมาทาบกับกระดาสีและตัดเป็นรูปนั้น
-         3.  แล้วนำรูปที่ตัดจากกระดาษสีติดลงกลางกระดาษ A4
-         4.  วาดรูปสัตว์จากรูปเรขาคณิตที่เราได้
ภาพผลงานศิลปะจากรูปเรขาคณิต(รูปสามเหลี่ยม)







ประโยชน์ที่ได้รับ

-        -----         รู้จักลักษณะของรูปเรขาคณิต
-        -----         ได้พัฒนาการด้านสมอง คือได้ใช้ความคิดในการประยุกต์จากรูปเรขาคณิตที่เราได้
-        -----            รู้จักแก้ปัญหาเฉพาะหน้า ( เพราะเราเลือกรูปเรขาคณิตก่อนที่อาจารย์จะบอกโจทย์)
-         ----            ความเพลิดเพลิน

การนำไปประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอนกับเด็ดปฐมวัย

1.       ครูผู้สอนควรจะตัดกระดาษเตรียมไว้ให้เด็ก
2.       ครูเปิดโอกาสให้เด็กทำรูปตามจินตนาการของตนเอง